พรบ. สมรสเท่าเทียม เตรียมมีผลบังคับใช้

พรบ. สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว เตรียมมีผลบังคับใช้

บอกโลกเลยก็ว่าได้ สำหรับ พรบ. สมรสเท่าเทียมของประเทศไทย ซึ่งมีนโยบายและการผลักดันของหลายภาคส่วนจนผ่านการเห็นชอบในมติการประชุมสภา และเตรียมบรรจุเป็น พรบ. หรือ กฏหมาย สมรสเท่าเทียมในเร็วๆนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการยอมรับและให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ บทความนี้จะเป็นสรุปการเตรียมมีผลบังคับใช้อะไรบ้าง

ความหมายของสมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียมเป็นการสมรสระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่จำกัดเฉพาะหญิงและชายเท่านั้น อาจเป็นหญิงหญิง ชายชายก็ได้ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชน

ความเป็นมาของ พรบ.สมรสเท่าเทียม

จุดเริ่มต้นของการสมรสเท่าเทียมมีมาตั้งแต่ 23 ปีที่แล้ว สมัยรัฐบาลยุคทักษิณ ชินวัตร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดเรื่องนี้ แต่กระแสสังคมไม่เห็นด้วยจึงปัดตกไป จนกระทั่งในปี 2563 พรรคก้าวไกลได้ยื่นเสนอร่าง พรบ.สมรสเท่าเทียมต่อสภาฯ อีกครั้ง ก่อนที่จะผ่านวาระแรกพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ในการสมรส จดทะเบียนสมรส และใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรส ไม่ว่าบุคคลเพศสภาพใดเมื่อสมรสกัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายรองรับ โดยไม่จำเป็นว่าคู่สมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงเท่านั้น ทำให้มีการร่างข้อกฎหมายที่แก้ไขถ้อยคำระบุรายละเอียดให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

สมรสเท่าเทียบ พรบ

สาระสำคัญของ พรบ.สมรสเท่าเทียม

  1. ไม่จำกัดคู่สมรสว่าต้องเป็นหญิง ชายเท่านั้น เพศสภาพไหนๆก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้หมด
  2. ไม่ว่าคู่สมรสจะเป็นเพศสภาพไหน เมื่อจดทะเบียนสมรสด้วยกัน ถือว่าเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
  3. บุคคลสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (หากอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม)
  4. ปรับเปลี่ยนคำที่บ่งบอกถึงเพศให้เป็นกลาง เช่น การเปลี่ยนคำว่า “สามีภริยา” เป็น “คู่สมรส”, ชายหญิง ปรับเป็น “บุคคล”, บิดามารดา ปรับเป็น “บุพการี”
  5. สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
  6. สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต
  7. สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญา เช่นเดียวกับสามีภรรยา
  8. สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลแก่คู่สมรส
  9. สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม
  10. สิทธิในการยื่นภาษีร่วม
  11. สิทธิจัดการศพ
  12. สิทธิรับบุตรบุญธรรม และให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ โดยต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

วันที่ประกาศใช้ พรบ.สมรสเท่าเทียม

ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติเห็นชอบร่าง พรบ.สมรสเท่าเทียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ผู้ลงมติ 152 เสียง เห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง คาดว่าจะประกาศใช้ พรบ.สมรสเท่าเทียมได้ในปลายปีนี้ และมีผลบังคับใช้ทันทีเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถือเป็นชาติแรกในอาเซียนเลยก็ว่าได้ ที่สภาฯ ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม

ตัวอย่าง สมรสเท่าเทียม 2

ตัวอย่าง สมรสเท่าเทียม

ศูนย์แปลเฟิสท์ชอยซ์ให้บริการจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติ และแปลเอกสารพร้อมรับรองเอกสาร ครบวงจร

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป เมื่อคุณใช้บริการกับศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์เราให้บริการรับแปลเอกสาร เพื่อใช้จดทะเบียนสมรส โดยนักแปลผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการแปลเอกสารเพื่อใช้จดทะเบียนสมรสมากกว่า 13 ปี รับแปลภาษามากกว่า 30 ภาษาทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบริการรับรองเอกสารให้ โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินเรื่องเอง ใช้บริการครบจบที่เราได้เลย เพียงเตรียมเอกสารให้เราอย่างครบถ้วนเท่านั้น

บทความแนะนำ

🌎 ศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน

ติดต่อศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับบริการกับศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้แล้ววันนี้ที่
LINE OFFICIAL ACCOUNT: https://page.line.me/fc2009?openQrModal=true หรือ

สำนักงานใหญ่ สะพานควาย จตุจักร

อาคารภูมิเดชา ชั้น 4 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถ.ประดิพัทธ์ เเขวง/เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 082-3256236 , 065-3958392
https://goo.gl/maps/zUrGGGGWSrtMvjDa7

ศูนย์แปลเอกสารสาขาภูเก็ต ถ.ปฏิพัทธ์ เมืองภูเก็ต

เลขที่ 7/4 ถ.ปฏิพัทธ์ ต.ตลาตเหนือ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 086-3669255 
https://goo.gl/maps/s21JAisaAnRPvxtHA