เตรียมเอกสารแปลที่ไหนได้งานคุณภาพ 1

ขั้นตอนการทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง เตรียมเอกสารแปลที่ไหนได้งานคุณภาพ

ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทย จะทำธุรกรรมหรือนิติกรรมอะไรก็ลำบาก จะดีกว่าไหมถ้าทำทะเบียนบ้านเล่มเหลืองแล้วสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสถานะบุคคลและถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ใช้เป็นหลักฐานในการขออนุญาตทำงาน เรียนหนังสือ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในประเทศไทย ใช้เป็นหลักฐานในการขอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมายได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรเยอะแยะเหมือนเมื่อก่อน

1. ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองคืออะไร

ทะเบียนบ้านเล่มเหลือง คือ ทะเบียนบ้านสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ หรือเป็นการอาศัยแบบชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ซึ่งทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งเลยก็คือ ทะเบียนราษฎร (ท.ร.13) หรือทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย และอยู่ในลักษณะชั่วคราว มีไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงสถานะบุคคล และถิ่นอาศัยที่อยู่ที่ชัดเจนในประเทศไทย

โดยชาวต่างชาติที่ถือทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนั้นต้องไม่มีสัญชาติไทย และเป็นการเข้าอาศัยที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว และได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองแล้วเท่านั้น

2. ความต่างระหว่างทะเบียนทั่วไปกับทะเบียนเล่มเหลือง

ความแตกต่างของทะเบียนบ้านทั่วไป (เล่มน้ำเงิน) และทะเบียนเล่มเหลือง (ท.ร.13) นั้นจะว่าเหมือนกันเลยก็ไม่เชิง ถึงจะมีไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงสถานะบุคคลและถิ่นอาศัยในประเทศไทยเหมือนกัน แต่ก็มีส่วนที่ต่างกันอยู่มากพอสมควร

ทะเบียนบ้านทั่วไป (เล่มน้ำเงิน)

  • ประเภท: ทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย
  • ลักษณะ: สมุดปกแข็งสีน้ำเงิน
  • คุณสมบัติของผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน: เป็นผู้มีสัญชาติไทย
  • ระยะเวลา และการอยู่อาศัย: ไม่จำเป็นต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลักแหล่ง

ทะเบียนเล่มเหลือง (ท.ร.13)

  • ประเภท: ทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว หรือได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  • ลักษณะ: สมุดปกแข็งสีเหลือง
  • คุณสมบัติของผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน: เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย
  • ระยะเวลา และการอยู่อาศัย: อาศัยอยู่ในประเทศไทยตามขอบระยะเวลาตามกฎหมายกำหนด และต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลักแหล่ง

ความแตกต่างของทะเบียนบ้านเล่มเหลืองที่ควรรู้เลยก็คือ ผู้ที่เข้าขอทะเบียนเล่มเหลืองนั้นจะต้องเป็นชาวต่างชาติ (ไม่มีสัญชาติไทย) ได้เข้าสมรสกับคู่สมรสที่มีสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

3. เอกสารอะไรบ้างใช้จดทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

ว่าด้วยเรื่องเอกสาร แนะนำให้เตรียมความพร้อมไว้ก่อน ทั้งในส่วนของเอกสารตัวจริง และเอกสารที่ผ่านการแปลเป็นภาษาไทยและเข้ารับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว เพื่อความสะดวกในการยื่นเอกสารเพื่อขอทะเบียนบ้านเล่มเหลือง เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนเข้าจดทะเบียนบ้านเล่มเหลือง มีดังนี้

เอกสารส่วนของเจ้าบ้าน หรือเจ้าของทะเบียนบ้าน

  1. บัตรประชาชน
  2. ทะเบียนบ้าน

เอกสารส่วนของชาวต่างชาติ กรณีสมรส กับคู่สมรสสัญชาติไทย

  1. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
  3. หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับคนต่างชาติ ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  4. ใบอนุญาติทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  5. (ถ้ามี) ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนเเห่งครอบครัว คร.22 กรณีจดทะเบียนสมรสจากต่างประเทศมา ขั้นตอนการจดคร. 22 …(อ่านต่อ)
  6. บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
  7. สูติบัตร (กรณีมีบุตร)
  8. รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 5 รูป
  9. สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่จะทำการแจ้งให้คนต่างชาติเข้าพักอาศัย
  10. พยานบุคคลจำนวน 2 คน พร้อมบัตรประชาชน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)

หมายเหตุ: ชาวต่างชาติและคู่สมรสต้องอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน

เอกสารส่วนของชาวต่างชาติ กรณีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์

  1. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
  3. หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับคนต่างชาติ ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  4. ใบอนุญาติทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  5. ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
  6. หนังสือกรรมสิทธิ์ และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช.23
  7. รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 5 รูป
  8. พยานบุคคลจำนวน 2 คน พร้อมบัตรประชาชน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
  9. เอกสารอื่นๆ เช่น ใบขับขี่, วุฒิการศึกษา, กรีนการ์ด
  10. รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง

4. ขั้นตอนการทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

ขั้นตอนในการทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง หรือการขอเข้าทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) สำหรับชาวต่างชาติ ในประเทศไทยนั้น สามารถเข้าขอได้ที่สำนักทะเบียน หรือที่ว่าการอำเภอเขตพื้นที่ตามทะเบียนที่จะขอเข้าทะเบียนบ้าน โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. เตรียมเอกสารประกอบการขอ
  2. เข้าติดต่อแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้าน ที่สำนักทะเบียนเขตนั้นๆ
  3. กรอกคำร้องขอเข้าทะเบียนบ้าน หรือขอทำท.ร.13
  4. ยื่นเอกสารประกอบคำร้องแก่เจ้าหน้าที่ทะเบียน
  5. นัดวันสัมภาษณ์ เจ้าบ้าน ผู้ขอเข้าทะเบียนบ้าน (ชาวต่างชาติ) และพยานทั้ง 2 คน
  6. เจ้าหน้าที่ออกเล่มทะเบียนบ้าน ท.ร.13 (ทะเบียนบ้านเล่มเหลือง)
  7. นัดวันรับเล่มทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนั้น โดยส่วนมากจะใช้เวลาดำเนินการอยู่ที่ 15-30 วันทำการ หรือตามคิวของแต่ละเขตพื้นที่

5. เอกสารแปลเพื่อใช้ทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

เอกสารของชาวต่างชาติ ก่อนนำมายื่นเพื่อขอทำทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้ามาแปลเป็นภาษาไทยพร้อมเข้ารับรองคำแปล และรับรองเอกสารกงสุลก่อน หากเอกสารไม่ได้ผ่านการแปลและรับรองเอกสารกงสุลกระทรวงต่างประเทศ เอกสารนั้นจะถือเป็นโมฆะและไม่สามารถใช้งานได้ตามกฎหมายไทย ถึงแม้เอกสารนั้นจะเป็นฉบับจริงก็ตาม

เอกสารที่ต้องเข้ารับการแปลและรับรองเอกสาร

  • สำเนาพาสปอร์ตรับรองเอกสารจากสถานทูตในไทย (Passport)
  • ทะเบียนสมรสจดทะเบียนจากต่างประเทศผ่านการรับรองจากสถานทูตไทยที่ประเทศต้นทาง ขั้นตอนการจดคร. 22 …(อ่านต่อ)
  • สูติบัตร (กรณีมีบุตร)
  • หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ (กรณีเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ)

5. ขั้นตอนรับรองเอกสารแปลทะเบียนสมรสจากต่างประเทศ

5.1 ทะเบียนสมรส และสำเนาพาสปอร์ตรับรองเอกสารจากสถานทูตไทยที่ประเทศต้นทาง

ขั้นตอนนี้จะคล้ายกับการขอใบรับรองโสดเพื่อขอจดทะเบียนสมรสที่สถานทูตเลยค่ะ

โดยให้คุณนำเอกสารทะเบียนสมรสของคุณและคู่สมรสเข้ารับรองเอกสารจากสถานทูตของประเทศต้นทางของคู่สมรสของคุณ ประจำประเทศไทย เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารก่อนนำเอกสารมาใช้ในการดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนครอบครัวค่ะ

5.2 นำเอกสารมาแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลจากศูนย์แปลเอกสาร

เมื่อคุณได้นำเอกสารเข้ารับรองเอกสารทะเบียนสมรสจากสถานทูตเรียบร้อยแล้ว เอกสารที่ผ่านการรับรองนั้นจะเป็นภาษาอังกฤษค่ะ ทำให้จำเป็นต้องนำเอกสารเข้ากระบวนการแปลภาษาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยก่อนนำเอกสารเข้ารับรองกงสุล กระทรวงต่างประเทศ โดยเอกสารที่ผ่านการแปลนั้นจะต้องมีการลงนามรับรองคำแปลจากนักแปลที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากทางสถานทูตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่านั้น

5.3 รับรองเอกสารกงสุล

เมื่อได้รับเอกสารที่ผ่านกระบวนการแปลภาษาจากเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย พร้อมผ่านการลงนามรับรองคำแปลจากนักแปลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ให้คุณนำเอกสารนั้นเข้ายื่นต่อกรมการกงสุล กระทรวงต่างปรเทศ เพื่อขอยื่นเข้ารับรองเอกสารกงสุลค่ะ

ในขั้นตอนนี้เพื่อความสะดวกสบายในการดำเนินการ คุณสามารถใช้บริการกับทางศูนย์แปลภาษาเพื่อให้ทางศูนย์เข้ายื่นขอรับรองกงสุลให้ได้ค่ะ เช่นเดียวกับทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันของเรา ที่มีบริการรับแปลเอกสารพร้อมลงนามรับรองคำแปล และบริการยื่นรับรองเอกสารกงสุลในตัว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินเอกสาร ลดระยะเวลาและความผิดพลาดของการดำเนินการได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

5.4 นำเอกสารทั้งหมดเข้ายื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22

รับแปลทะเบียนแห่งครอบครัว-คร.22

ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อคุณได้รับเอกสารที่ผ่านการรับรองกงสุลมาเรียนร้อยแล้ว ให้คุณนำเอกสารเหล่านั้นเข้ายื่นต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตพื้นที่ ที่คุณต้องการแจ้งความประสงค์ในการขอยื่นจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ได้เลยทันที

ในกรณีที่คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ คุณจำเป็นตะต้อจัดหาล่ามในการแปลภาษามาด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารของทั้งสองฝ่ายให้มีความเข้าใจที่ตรงกันอย่างถูกต้อง

6. วิธีเลือกศูนย์แปลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อใช้จดทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

วิธีเลือกศูนย์แปลที่มีความน่าเชื่อถือนั้น อันดับแรกเลยก็ต้องดูที่มีบริการครอบคลุมทั้งในส่วนของการแปลเอกสาร รับรองคำแปลเอกสาร พร้อมบริการรับรองเอกสารนิติกรณ์กงสุล กระทรวงต่างประเทศ เพื่อความสะดวกในการดำเนินการ ดูในส่วนของตัวอย่างผลงานและรีวิวที่บ่งบอกถึงประสบการณ์ในการทำงาน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานและระยะเวลาที่ต้องการใช้เอกสารร่วมด้วย

ศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน ศูนย์แปลภาษา แปลเอกสารครบวงจร รองรับบริการแปลภาษาได้มากกว่า 30 ภาษาทั่วโลก ด้วยนักแปลที่ผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปิดให้บริการมามากกว่า 13 ปี เราพร้อมช่วยเหลือและดูแลทุกขั้นตอนแบบครบวงจร เพื่อให้การดำเนินเรื่องเอกสารของคุณง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน

ติดต่อศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับบริการกับศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้แล้ววันนี้ที่
LINE OFFICIAL ACCOUNT: https://page.line.me/fc2009?openQrModal=true หรือ

สำนักงานใหญ่ สะพานควาย จตุจักร

อาคารภูมิเดชา ชั้น 4 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถ.ประดิพัทธ์ เเขวง/เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 082-3256236 , 065-3958392
https://goo.gl/maps/zUrGGGGWSrtMvjDa7

ศูนย์แปลเอกสารสาขาภูเก็ต ถ.ปฏิพัทธ์ เมืองภูเก็ต

เลขที่ 7/4 ถ.ปฏิพัทธ์ ต.ตลาตเหนือ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 086-3669255 
https://goo.gl/maps/s21JAisaAnRPvxtHA