คุณกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 อยู่หรือไม่? กำลังสงสัยว่าจดทะเบียนสมรสแล้วทำไมต้องขอทะเบียนครอบครัวเพิ่มอีกอยู่หรือเปล่า? วันนี้ศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้หาคำตอบที่คุณสงสัยมาให้คุณแล้วที่นี่
1. ทะเบียนครอบครัวคืออะไร
ทะเบียนครอบครัว หรือทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 คือ การจดทะเบียนเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิของความสัมพันธ์นั้นๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยทะเบียนครอบครัวนั้นไม่ได้หมายถึงแค่ความสัมพันธ์ของคู่สามี-ภรรยาเท่านั้น ทะเบียนครอบครัว คร.22 นั้นรวมไปถึงความสัมพันธ์ของแม่กับลูก พ่อกับลูก และบุตรบุญธรรมด้วย
การจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว หรือทะเบียนครอบครัวนั้นได้แก่
- การจดทะเบียนสมรส
- การจดทะเบียนหย่า
- การจดทะเบียนรับรองบุตร
- การจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม
- การจดทะเบียนเลิกรับบุญบุตรธรรม
- การบันทึกฐานะภริยา
- การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
ในกรณี คู่สมรสที่มีการจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ หรือที่เรียกกันง่ายๆเลยก็คือมีการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ และได้มีการจดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยจดทะเบียนแจ้งการสมรสภายในประเทศไทยนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ค่ะ เพื่อยืนยันความสัมพันธ์และสถานะการสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายสากล
อีก 1 กรณีที่ต้องเข้าจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 นั้นก็คือ คู่สมรสสัญชาติไทยทั้งฝ่ายหญิงและชายที่มีการเข้าจดทะเบียนสมรสกันที่ต่างประเทศค่ะ ในกรณีนี้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ด้วยเช่นเดียวกัน
2. ทำไมต้องขอทะเบียนครอบครัว คร.22
ในเมื่อมีการเข้าจดทะเบียนสมรสกับคู่สมรสในประเทศของคู่สมรสเรียบร้อยแล้ว ทำไมถึงต้องเข้าขอทะเบียนแห่งครอบครัวซ้ำอีก?
ในกรณีที่เป็นการสมรสกับคู่สมรสต่างสัญชาติ แน่นอนอยู่แล้วค่ะว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าจดทะเบียนสมรสในทั้ง 2 ประเทศ และขั้นตอนในการขอยื่นจดทะเบียนสมรสของแต่ละประเทศนั้นก็มีความแตกต่างกันไป
อีกทั้งระยะเวลาช่วงดำเนินการเข้าจดทะเบียนสมรสในทั้ง 2 ประเทศอาจมีระยะที่ไม่ได้ใกล้กันมาก ทำให้ในช่วงที่รอการดำเนินการให้เสร็จสิ้นทั้ง 2 ประเทศ สิทธิที่พึ่งมีสำหรับคู่สมรสนั้นจะยังไม่มีสิทธิ์ตากฎหมายสากลแบบสมบูรณ์ค่ะ หากมีเหตุให้ต้องยืนยันสถานภาพ ยืนยันความสัมพันธ์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ในช่วงระหว่างช่วงดำเนินการจดทะเบียนสมรสในอีก 1 ประเทศ การขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 นั้นเลยมีความจำเป็นต้องมี เพื่อยืนยันความสัมพันธ์การสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายสากลค่ะ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว
- พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว
- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
- พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว
เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในแต่ละส่วน ทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้ทำการแยกเป็นเหตุผลหลักๆ ให้แล้วที่นี่ค่ะ
2.1 เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของคู่สามี-ภรรยา
การขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 เพื่อยืนยันความสัมพันธ์การสมรสของสามี-ภรรยา ในช่วงระยะเวลาที่ทั้งคู่ยังไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนสมรสครบทั้ง 2 ประเทศ
โดยในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการเข้าจดทะเบียนสมรสครบทั้ง 2 ประเทศ การเข้าดำเนินการหรือการกระทำการใดๆ ทั้งทางหน่วยงานราชการ หรือแม้แต่การทำธุรกรรมต่างๆ หากมีการขอเอกสารเพื่อยืนยันสถานภาพการสมรส ทะเบียนสมรสที่มีการจดจากประเทศใดประเทศหนึ่ง นั้นจะไม่สามารถใช้ในการยืนยันได้ 100% หรือเรียกได้ว่าเอกสารนั้นยังไม่มีผลตามกฎหมายสากลอย่างสมบูรณ์
ดังนั้นการใช้ทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ในการยื่นควบคู่ไปกับทะเบียนสมรสที่มีอยู่นั้นจะเป็นการยืนยันสถานภาพการสมรสได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมายสากลค่ะ
2.2 ใช้เป็นหลักฐานขอหรือต่อวีซ่า
หลังจากการแต่งงานและจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว การยื่นเอกสารเพื่อขอทำวีซ่านั้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากคู่สมรสนั้นมีสัญชาติที่ต่างกัน การที่ย้ายเข้ามาอยู่ด้วยกันแน่นอนอยู่แล้วว่าไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องทำการขอวีซ่าเพื่อขออาศัยอยู่ในประเทศของคู่สมรส
แต่ในเมื่อเรายังไม่ได้ทำการเข้าจดทะเบียนสมรสครบทั้ง 2 ประเทศ การยื่นยันความสัมพันธ์ของคุณกับคู่สมรสนั้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เอกสารทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ประกอบกับเอกสารทะเบียนสมรสเพื่อยืนยันสถานภาพการสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อสถานทูต เพื่อดำเนินเรื่องการขอทวีซ่าต่อไป
2.3 ใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อหน่วยงานราชการต่างๆ ธนาคาร และศาลในไทย
หากในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนสมรสครบทั้ง 2 ประเทศ แต่มีเหตุให้ต้องเข้าดำเนินการทางธุรกรรมกับทางธนาคาร การเข้าดำเนินการเรื่องต่างๆกับทางหน่วยงานราชการ หรือแม้แต่การติดต่อกับศาลในประเทศไทย หากทางหน่วยงานมีการขอเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของคู่สามี-ภรรยา เอกสารที่คุณจะต้องนำไปยื่นต่อหน่วยงานนั้นก็คือ ทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 เพื่อเป็นการยืนยันความสัมพันธ์การสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีใบทะเบียนสมรสของทั้ง 2 ประเทศเข้ายื่น
3. ทะเบียนครอบครัวขอได้ที่ไหน
การยื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 นั้นสามารถขอได้ที่ สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอ หากคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ การเข้าขอจดทะเบียนครอบครัวนั้นจะต้องมีพยาน และล่ามในการแปลภาษาให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกันเดินทางมาด้วย
ในกรณีที่ต้องการขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 แต่ทั้งคู่อาศัยอยู่ต่างประเทศไม่สะดวกในการเดินทาง คุณสามารถเข้าทำหนังสือในการมอบอำนาจที่สถานกงสุล ให้ผู้แทนของคุณดำเนินการขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 แทนได้เช่นกัน
บุคคลที่ไม่สามารถเป็นพยานจดทะเบียนครอบครัวได้
- บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ 20 ปีบริบูรณ์
- บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
- บุคคลที่เป็นผู้พิการ เช่น หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
4. เอกสารสำหรับยื่นขอทะเบียนครอบครัว (คร.22) มีอะไรบ้าง
ก่อนจะทำการเดินทางไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตพื้นที่ เพื่อยื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 นั้นจะต้องเตรียมเอกสารอะไรกันบ้าง? วันนี้ทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันจัดทำลิสต์อย่างง่ายไว้ให้คุณแล้วที่นี่
- ทะเบียนสมรส (Marriage Certificate) ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ที่ผ่านการรับรองจากสถานทูตไทย
- สำเนาหนังสือเดินทาง ที่ออกและรับรองโดยสถานทูตไทยของประเทศนั้นๆ
- หนังสือเดินทางฉบับจริง
- ทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงพร้อมสำเนา คนละ 1 ชุด
- เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล เป็นต้น
5. ขั้นตอนในการขอทะเบียนครอบครัว
เมื่อเราเตรียมเอกสารสำคัญครบแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนในการขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 กันแล้วค่ะ โดยอย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า การยื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัวนั้นจะต้องเข้ายื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่ หรือที่ว่าการอำเภอพร้อมกับพยานและล่ามในการแปลภาษา และมีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องเตรียม หากคุณเตรียมทุดอย่างครบถ้วน บอกได้เลยค่ะว่าทุกอย่างจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณเลยค่ะ
คุณสมบัติของการจดทะเบียนสมรสสำหรับกฏหมายของไทย
- เป็นชาย-หญิง อายุ 17 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
- หากมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
- ต้องมีสถานะโสด (ทั้งคู่)
หลักเกณฑ์การยื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22
- ข้อความที่บันทึกไว้ทั้งหมด จะต้องเป็นกิจการอันเกี่ยวกับทะเบียนแห่งครอบครัว
- กิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศตามกฎหมายแห่งประเทศที่ได้ขึ้นบัญญัติไว้
- ต้องเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีที่เป็นคนสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติไทย และอีกฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นเท่านั้น
- ต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐาน ที่แปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองถูกต้อง มาแสดงต่อนายทะเบียน
และวันนี้ทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันของเรา ได้ทำการรวบรัดขั้นตอนในการขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 หรือทะเบียนครอบครัวมาให้คุณแล้ว ไปดูกันค่ะว่าจะต้องเข้าดำเนินการในส่วนไหนบ้าง ไปดูกัน…
5.1 ทะเบียนสมรส และสำเนาพาสปอร์ตรับรองเอกสารจากสถานทูตในไทย
ขั้นตอนนี้จะคล้ายกับการขอใบรับรองโสดเพื่อขอจดทะเบียนสมรสที่สถานทูตเลยค่ะ
โดยให้คุณนำเอกสารทะเบียนสมรสของคุณและคู่สมรสเข้ารับรองเอกสารจากสถานทูตของประเทศต้นกำเนิดของคู่สมรสของคุณ ประจำประเทศไทย เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารก่อนนำเอกสารมาใช้ในการดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนครอบครัวค่ะ
5.2 นำเอกสารมาแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลจากศูนย์แปลเอกสาร
เมื่อคุณได้นำเอกสารเข้ารับรองเอกสารทะเบียนสมรสจากสถานทูตเรียบร้อยแล้ว เอกสารที่ผ่านการรับรองนั้นจะเป็นภาษาอังกฤษค่ะ ทำให้จำเป็นต้องนำเอกสารเข้ากระบวนการแปลภาษาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยก่อนนำเอกสารเข้ารับรองกงสุล กระทรวงต่างประเทศ โดยเอกสารที่ผ่านการแปลนั้นจะต้องมีการลงนามรับรองคำแปลจากนักแปลที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากทางสถานทูตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่านั้น
5.3 รับรองเอกสารกงสุล
เมื่อได้รับเอกสารที่ผ่านกระบวนการแปลภาษาจากเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย พร้อมผ่านการลงนามรับรองคำแปลจากนักแปลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ให้คุณนำเอกสารนั้นเข้ายื่นต่อกรมการกงสุล กระทรวงต่างปรเทศ เพื่อขอยื่นเข้ารับรองเอกสารกงสุลค่ะ
ในขั้นตอนนี้เพื่อความสะดวกสบายในการดำเนินการ คุณสามารถใช้บริการกับทางศูนย์แปลภาษาเพื่อให้ทางศูนย์เข้ายื่นขอรับรองกงสุลให้ได้ค่ะ เช่นเดียวกับทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันของเรา ที่มีบริการรับแปลเอกสารพร้อมลงนามรับรองคำแปล และบริการยื่นรับรองเอกสารกงสุลในตัว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินเอกสาร ลดระยะเวลาและความผิดพลาดของการดำเนินการได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
5.4 นำเอกสารทั้งหมดเข้ายื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22
ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อคุณได้รับเอกสารที่ผ่านการรับรองกงสุลมาเรียนร้อยแล้ว ให้คุณนำเอกสารเหล่านั้นเข้ายื่นต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตพื้นที่ ที่คุณต้องการแจ้งความประสงค์ในการขอยื่นจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ได้เลยทันที
ในกรณีที่คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ คุณจำเป็นตะต้อจัดหาล่ามในการแปลภาษามาด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารของทั้งสองฝ่ายให้มีความเข้าใจที่ตรงกันอย่างถูกต้อง
มาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วยังไม่รู้จะหาล่ามที่ไหนดี ทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันของเราก็มีบริการล่ามแปลภาษามืออาชีพไว้บริการให้กับคุณเช่นเดียวกันค่ะ หรือหากต้องการใช้บริการทั้งแปลเอกสารพร้อมลงนามรับรองคำแปล บริการยื่นรับรองกงสุล และบริกาล่ามแปลภาษาคุณก็สามารติดต่อเราและแจ้งความประสงค์ได้เลยค่ะ เราพร้อมให้บริการและดูแลคุณประหนึ่งเป็นคในครอบครัวของเราเองเลยค่ะ
6. สรุป ขั้นตอนการขอทะเบียนครอบครัว คร.22
มาจนถึงตอนนี้แล้วหลายคนอาจจะกำลังสับสน เนื่องจากมีข้อมูลหลายส่วนที่ต้องดู เพื่อดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 อยู่ใช่ไหมละค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้ทำการสรุกขั้นตอนแบบสั้นๆง่ายๆ มาไว้ให้คุณแล้วค่ะ
- ขั้นตอนที่ 1 นำทะเบียนสมรสไปรับรองที่สถานทูตประจำประเทศไทย
- ขั้นตอนที่ 2 นำเอกสารทะเบียนสมรส และสำเนาพาสปอร์ตที่ผ่านการรับรองจากสถานทูต เข้าแปลเป็นภาษาไทยพร้อมรับรองคำแปล
- ขั้นตอนที่ 3 นำเอกสารที่แปลและรับรองจากศุนย์แปลเรียบร้อยแล้ว เข้ารับรองกงสุล
- ขั้นตอนที่ 4 นำเอกสารที่ผ่านการรับรองกงสุลทั้งหมด เข้ายื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 ที่สำนักงานเขตพื้นที่หรือที่ว่าการอำเภอ เป็นอันจบกระบวนการขอทะเบียนครอบครัว กรณีเป็นต่างชาติทั้งคู่ ต้องมีล่ามเพื่อแปลภาษาอีก 1 ท่าน
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินเรื่องเพื่อยื่นขอจดทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 นั้นดูเหมือนจะไม่มีอะไรที่ยุ่งยาก แต่อย่างที่ทราบกันค่ะว่าระบบการดำเนินเรื่องของราชการเป็นอะไรที่ต้องรอนานและมีขั้นตอนอีกมากมาย หากมีการยื่นเอกสารผิด หรือมีการตีกลับของเอกสารนั้นเท่ากับว่าคุณยืดเวลาในการดำเนินเรื่องออกไปอีกบางทีกว่าเอกสารจะผ่านการรับรองหรืออนุมัติอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์เลยก็ได้
ดังนั้นการที่คุณเตรียมเอกสารและเช็คความถูกต้องของเอกสารให้ดีก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว หรือถ้าหากยังกังวลใจว่าจะเตรียมเอกสารถูกหรือไม่ หรือไม่รู้ระบบขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง คุณสามารถเข้าขอรับคำปรึกษา หรือขอรับบริการในการแปลภาษาพร้อมยื่นรับรองกงสุลกับเราได้ ทางศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันของเรา พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยให้ดำเนินเรื่องขอรับรองของคุณให้ตั้งแต่เริ่มเตรียมเอกสารจนถึงการส่งเอกสารพร้อมใช้งานให้กับคุณ
ศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน ศูนย์แปลภาษาที่ให้บริการแปลภาษามากกว่า 30 ภาษาทั่วโลก ที่มาพร้อมกับบริการที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการขอยื่นรับรองเอกสารสถานทูตและกงสุล อีกทั้งยังมีล่ามมืออาชีพในการแปลภาษาให้บริการ เปลี่ยนทุกเรื่องยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่ายไปกับเราศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- วิธีขอทะเบียนแห่งครอบครัว คร.22 อย่างถูกต้องและรวดเร็ว – FCT (firstchoicetranslation.com)
- จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติในไทย ต้องจดที่ไหน มีขั้นตอนอะไรบ้าง
- ต้องการแปลทะเบียนสมรสจากต่างประเทศ ต้องทำอย่างไร เพื่อขอรับรองเอกสารในไทย
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับบริการกับศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้แล้ววันนี้ที่ LINE OFFICIAL ACCOUNT: https://page.line.me/fc2009?openQrModal=true หรือ
สำนักงานใหญ่ สะพานควาย จตุจักร
อาคารภูมิเดชา ชั้น 4 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถ.ประดิพัทธ์ เเขวง/เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 061-1769965 , 065-3958392
https://goo.gl/maps/zUrGGGGWSrtMvjDa7
สาขาภูเก็ต ถ.ปฏิพัทธ์ เมืองภูเก็ต
เลขที่ 7/4 ถ.ปฏิพัทธ์ ต.ตลาตเหนือ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 086-3669255
https://goo.gl/maps/s21JAisaAnRPvxtHA