ปัจจุบันชาวไทยหลายคนนิยมแต่งงานกับชาวต่างชาติกันเป็นจำนวนมาก อาจจะเป็นเพราะโลกตอนนี้เสรี สามารถเดินทางไปมาต่างประเทศได้สะดวกขึ้น จนเป็นเหตุให้ได้พบรักกัน ซึ่งการแต่งงานกับชาวต่างชาตินั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของบางคนเลยก็ว่าได้ และมาพร้อมกับการจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมายที่ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก และมีกระบวนการหลายขั้นตอน เพื่อให้การจดทะเบียนดำเนินไปอย่างถูกต้อง วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารก่อนจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติมาฝากกัน
ประโยชน์จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ
- มีความมั่นคงทางกฎหมาย ทั้งสิทธิในการดูแลบุตร สิทธิในการรับมรดก และสิทธิในการอยู่อาศัย ทั้งสองฝ่ายจะได้สิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเสียเปรียบใคร โดยเฉพาะสิทธิในการอยู่อาศัย ทำให้คุณไปอาศัยประเทศของคู่สมรสได้ง่ายขึ้น และมีผลต่อการขอวีซ่าหรือใบอนุญาตทำงาน
- การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติจะทำให้คุณได้รับการยอมรับทางสังคม
- การใช้ชีวิตกับคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม จะทำให้คุณได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆให้ตัวคุณด้วย
- ได้สิทธิในการถือครองทรัพย์สินร่วมกัน สามารถร่วมกันซื้อบ้าน หรือลงทุนทำธุรกิจด้วยกันได้ นอกจากนี้ในบางประเทศ อาจมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับคู่สมรสด้วย
สิทธิชาวต่างชาติหลังจดทะเบียนสมรส
- มีความมั่นคงทางกฎหมายเช่นกันเหมือนกับคนไทย ทั้งสิทธิในการดูแลบุตร สิทธิในการรับมรดก และสิทธิในการอยู่อาศัย
- สามารถร่วมกันซื้อทรัพย์สิน เช่น บ้าน หรือที่ดินได้
- อาจได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐ
เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนสมรส
ขั้นตอนการเตรียมเอกสารให้พร้อมนั้นนับเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องเช็คความถูกต้องอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่จะทำให้การดำเนินเรื่องเอกสารของเราล่าช้า
2.1 การเตรียมเอกสารสำหรับชาวไทย
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด)
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด)
- ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด) *ถ้ามี*
- บัตรประชาชนของพยานทั้ง 2 คน
- ใบรับรองแพทย์ ระบุว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ 1 ชุด
- คำร้องขอนิติกรณ์
- รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
ในกรณีที่เคยหย่าหรือผ่านการจดทะเบียนสมรสมาแล้ว จำเป็นต้องเตรียมเอกสารประกอบเพิ่มเติมดังนี้
- ใบสำคัญการหย่า (ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด)
- ใบมรณบัตรของคู่สมรสเดิม (ในกรณีคู่สมรสเดิมเสียชีวิตก่อนทำการหย่า)
2.2 เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับชาวต่างชาติ
- หนังสือเดินทาง Passport (ฉบับจริง)
- ใบรับรองโสดที่ผ่านการแปลเป็นภาษาไทย และรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ที่ผ่านการแปลเป็นภาษาไทย และรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
- ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ฉบับจริง) *ถ้ามี*
- ใบเปลี่ยนชื่อสกุล ที่ผ่านการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองเอกสาร 1 ชุด
- คำร้องขอนิติกรณ์
ในกรณีที่เคยหย่าหรือผ่านการจดทะเบียนสมรสมาแล้ว จำเป็นต้องเตรียมเอกสารประกอบเพิ่มเติมดังนี้
- ใบสำคัญการหย่า (ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด) *สามารถขอได้จากสถานทูตต้นกำเนิดของผู้ขอ*
- ใบสำคัญการหย่า ที่ผ่านการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองเอกสาร 1 ชุด
คุณสมบัติของผู้ที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้
- ชายหรือหญิง ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ แต่ทั้งนี้ต้องพาบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
- หากอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถดำเนินเรื่องได้ด้วยตนเอง
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
- ทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีสถานะโสด หรือหย่าเรียบร้อยแล้ว
- ผู้หญิงที่หย่าร้าง หรือสามีเสียชีวิต หากต้องการจดทะเบียนสมรสใหม่ต้องรอให้พ้น 310 วัน เว้นแต่กรณีสมรสกับคู่สมรสเดิม, มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้, คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น และมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
สถานที่จดทะเบียนสมรส
กรณีอยู่ในประเทศไทย
จดทะเบียนสมรสได้ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต ภายในราชอาณาจักรไทย
กรณีอยู่ต่างประเทศ
จดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
1. เตรียมเอกสาร
เตรียมเอกสารต่างๆให้เรียบร้อย สำหรับชาวต่างชาติต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติประจำประเทศไทย แล้วนำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทย จากนั้นนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศก่อน ถึงจะนำไปใช้จดทะเบียนได้ และอย่าลืมเตรียมบุคคลที่จะนำไปเป็นพยานในการจดทะเบียนสมรสไว้ด้วยฝ่ายละ 1 คน และควรมีล่ามไปด้วยอีก 1 คน นอกจากนี้ควรตรวจสอบข้อมูลของเอกสารต่างๆให้เรียบร้อย ทั้งฉบับจริงและสำเนา เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน
2. ยื่นคำขอ
นำเอกสารที่เตรียมไว้ไปยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต พร้อมพยานและล่ามไปด้วย
3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและสอบถามข้อมูล
เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสารต่างๆที่เราเตรียมไว้ว่าครบถ้วน และถูกต้องหรือไม่ จากนั้นจะทำการสอบถามข้อมูลความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เช่น ระยะเวลาที่คบหา, ระยะเวลาที่อยู่กินกันมา, ฝ่ายหญิงจะใช้คำนำหน้านามเป็นอะไร, มีความประสงค์ใช้นามสกุลของฝ่ายชายหรือไม่ ล่ามก็จะช่วยแปลรายละเอียดข้อมูลในการจดทะเบียนสมรสให้กับทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเจ้าหน้าที่จะทำการจดทะเบียนสมรสให้ และพยานทั้ง 2 ฝ่ายรับทราบร่วมกัน
4. ชำระค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสมรส แต่ละท้องที่อาจมีราคาแตกต่างกัน แนะนำให้สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่
5. รับใบสำคัญการสมรส
เจ้าหน้าที่มอบเอกสารทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้กับทั้งสองฝ่าย คนละ 1 ชุด
กรณีวางแผนขอวีซ่าหรือกลับประเทศ แนะนำให้คัดเอกสารการจดทะเบียนสมรสเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วย เพื่อแจ้งประเทศของคู่สมรสให้มีผลต่อกฎหมายและเงื่อนไขต่างๆ
ศูนย์แปลภาษาเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันให้บริการจดทะเบียนสมรสครบวงจร
ศูนย์แปลภาษาเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันให้บริการแปลเอกสารต่างๆ มากถึง 30 ภาษาทั่วโลก และบริการรับรองเอกสารต่างๆ ให้บริการรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ การันตีงานแปลคุณภาพด้วยประสบการณ์งานแปลมากกว่า 13 ปี นอกจากนี้ยังให้บริการจดทะเบียนสมรสกับคู่สมรสชาวต่างชาติแบบครบวงจร ในราคาเป็นกันเอง
บทความเเนะนำ
- จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติในไทย ต้องจดที่ไหน มีขั้นตอนอะไรบ้าง
- ต้องการแปลทะเบียนสมรสจากต่างประเทศ ต้องทำอย่างไร เพื่อขอรับรองเอกสารในไทย
- บริการจดทะเบียนสมรส ต่างชาติกับคนไทยในไทย แบบครบวงจร
ติดต่อศูนย์แปลเอกสารเฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชัน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับบริการกับศูนย์แปลเอกสาร เฟิสท์ชอยซ์ทรานสเลชันได้แล้ววันนี้ที่
LINE OFFICIAL ACCOUNT: https://page.line.me/fc2009?openQrModal=true หรือ
สำนักงานใหญ่ สะพานควาย จตุจักร
อาคารภูมิเดชา ชั้น 4 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถ.ประดิพัทธ์ เเขวง/เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 082-3256236 , 065-3958392
https://goo.gl/maps/zUrGGGGWSrtMvjDa7
ศูนย์แปลเอกสารสาขาภูเก็ต ถ.ปฏิพัทธ์ เมืองภูเก็ต
เลขที่ 7/4 ถ.ปฏิพัทธ์ ต.ตลาตเหนือ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000
โทร. 086-3669255
https://goo.gl/maps/s21JAisaAnRPvxtHA